วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

แอพพลิเคชั่น (HD Multimedia)




Faster, Richer Entertainment
ที่เมื่อเชื่อมต่อได้ในอัตราความเร็วที่สูงขึ้น ก็ย่อมทำให้ Content ที่จะถูกส่งถึงมือผู้ใช้บริการได้ในคุณภาพที่ดียิ่งขึ้นในรูปแบบ HD Multimedia Contents  แม้อยู่ในช่วงการทดสอบแต่ก็ทำให้เราเห็น Trend ว่าในเชิงของ Content และพฤติกรรมผู้บริโภคมีความพร้อมเป็นอย่างมากสำหรับการให้ หรือใช้บริการในรูปแบบนี้



อ้างอิง : http://www.ais.co.th/4g/app.html

แอพพลิเคชั่น (Telemedicine)



Faster, Better Life
ด้วยเทคโนโลยี 4G ที่สามารถส่งผ่านข้อมูลจำนวนมากได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ทำให้การ consult และส่งข้อมูลคนไข้จำนวนมากสามารถไปถึงผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์จากสถานที่ห่างไกลได้อย่างสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น



อ้างอิง : http://www.ais.co.th/4g/app.html

แอพพลิเคชั่น (video interactive)



Real - Time
video interactive
Faster, Better Interactive Experience
ด้วยความสามารถในการรับส่งสัญญาณของ 4G Network เราจึงติดต่อสื่อสารผ่านการส่งข้อมูลภาพ และเสียงแบบ High Definition ( HD ) ได้อย่างรวดเร็วไม่ติดขัด ทำให้สามารถเห็นหน้าผู้สนทนาได้อย่างคมชัด และสื่อสารได้แบบ Real-time ดังนั้นการติดต่อสื่อสารแบบ Real Time VDO Interactive จะช่วยให้คุณสามารถสื่อสารกันได้ใกล้ชิดกันยิ่งกว่าเดิม ถึงแม้จะอยู่ห่างไกลกันแต่หมือนใกล้แค่เอื้อม



อ้างอิง : http://www.ais.co.th/4g/app.html




แอพพลิเคชั่น (4G to Wifi)



Faster, Larger Capacity
ด้วยความเร็วของ 4G Network ที่มีประสิทธิภาพด้านความเร็วสูง (>100 Mbps) การให้บริการ 4G ผ่าน Wifi Adaptor จะทำให้เพิ่มโอกาสในการเข้าถึง Internet ได้อย่างง่ายดาย และรวดเร็วมากยิ่งขึ้น เพียงมี Aircard 4G และ Wifi Adaptor เมื่อเชื่อมต่อแล้ว สามารถแชร์สัญญาณ 4G เพื่อให้ใช้พร้อมกันกับอุปกรณ์ที่รองรับสัญญาณ Wifi ได้อย่างสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น เสมือนกับถนนที่มีขนาดใหญ่ยิ่งขึ้น ก็สามารถที่จะรองรับรถได้มากขึ้น และวิ่งเร็วได้มากขึ้นด้วย



อ้างอิง : http://www.ais.co.th/4g/app.html

ประโยชน์ของระบบ 4G


เนื่องจากการรับส่งข้อมูลความเร็วสูงผ่านระบบไร้สายของระบบ 4G ทำให้เราสามารถใช้งานระบบ 4G ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งทางด้านภาพและเสียง เช่น การดาวน์โหลดหรือรับชมวิดีโอ/ภาพยนต์แบบความคมชัดสูง (HD) การเรียนการสอนทางไกลผ่านระบบโทรศัพท์ไร้สาย การรักษาพยาบาลในแหล่งทุรกันดาน การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของเกษตรกรและอาชีพอื่นๆ นอกจากนี้ยังช่วยให้อุปกรณ์พกพาเช่น โทรศัพท์มือถือ แทบเล็ต และ notebook computer สามารถทำงานได้อย่างเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
จากประโยชน์ของระบบ 4G ที่มากมายข้างต้น ทำให้ประเทศต่างๆหันมาใช้ระบบนี้กันอย่างแพร่หลาย ทั้งสหรัฐอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น เกาหลี สิงค์โปร์หรือแม้กระทั่งเพื่อบ้านใกล้ชิดของเราอย่างประเทศลาวก็มีการเปิดให้บริการระบบโทรศัพท์ 4G แล้ว แต่สำหรับประเทศไทยของเรา ทางบริษัททีโอที จำกัด (มหาชน) ก็กำลังเริ่มทดสอบระบบนี้เช่นกัน โดยทดสอบบนคลื่นความถี่ 1800 และ 2300 MHz คาดว่าอีกำม่นานประเทศของเราน่าจะมีระบบโทรศัพท์ 4G ใช้งานกัน
ส่วนโทรศัพท์เคลื่อนที่และแทบเล็ตที่รองรับการทำงานในระบบ 4G นั้นมีอยู่เกือบจะทุกยี่ห้อ ทั้ง iPhone, iPad, Samsung Galaxy, LG และ HTC เป็นต้น



อ้างอิง : http://www.xn--42c8ao1akazf5c2be0gsk.net/4g

4G สำหรับคนไทย




การเกิดขึ้นของระบบ 3G หรือเทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลทั้งภาพและเสียงผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงในประเทศไทย อันเนื่องมาจากการจัดประมูลคลื่นความถี่ย่าน 2.1 GHz โดยคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เมื่อเดือนตุลาคม 2555 ที่ผ่านมา ถือเป็นพัฒนาการขั้นสำคัญอันหนึ่งของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมในประเทศไทย ซึ่งนอกจากจะเป็นการยกระดับในทางเทคโนโลยีแล้วยังเป็นการเริ่มต้นของการใช้ระบบใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่มาแทนที่ระบบสัญญาสัมปทานที่ใช้มาอย่างยาวนาน

อย่างไรก็ตาม ระบบ 2G อันเป็นเทคโนโลยีที่เน้นการติดต่อสื่อสารด้วยเสียง ซึ่งมีมาก่อนระบบ 3G ก็ยังเป็นระบบการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่มีผู้ใช้สูงสุดในปัจจุบัน โดยเฉพาะระบบ 2G บนย่านความถี่ 1800 MHz ของบริษัท กสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) นั้น ปัจจุบันยังมีผู้ใช้บริการอยู่ถึง 18 ล้านเลขหมาย ภายใต้สัมปทานของบริษัท กสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) โดย กสท. เป็นผู้ให้บริการประมาณ 200,000 เลขหมาย นอกจากนี้ยังมีผู้ให้บริการอีก 2 ราย ที่ให้บริการภายใต้สัมปทานของ กสท. ซึ่งคลื่นความถี่ 1800 MHz นำไปให้บริการระบบ 2G อีกประมาณ 17 ล้านเลขหมายเศษ ได้แก่ บริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทลูกของบริษัท  แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) โดยสัมปทานดังกล่าวจะสิ้นสุดลงในเดือนกันยายน 2556 ทำให้เกิดคำถามว่า หลังจากหมดสัญญาสัมปทานสำหรับคลื่นความถี่ 1800 MHz ที่ใช้กับระบบ 2G แล้ว กสทช. จะดำเนินการจัดสรรคลื่นความถี่ 1800 MHz นี้อย่างไร  โดยไม่เกิดผลกระทบสิทธิของผู้ใช้ประโยชน์ และให้เกิดประโยชน์สูงสุด

นอกจากการให้บริการด้านเสียงด้วยระบบ 2G แล้ว คลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz ยังสามารถนำไปให้บริการเพื่อส่งผ่านข้อมูลทั้งภาพและเสียงในระบบ 4G (Long Term Evolution หรือ LTE) ได้อีกด้วย โดยคลื่น 1800 MHz ที่จะนำไปให้บริการ 4G นั้น จะต้องมีแถบความถี่ (Bandwidth) ที่กว้างหรือมีจำนวนที่มากพอ คลื่นความถี่ที่ผู้ให้บริการ 2G ในปัจจุบันถือครองอยู่รายละ 12.5 MHz ยังไม่เพียงพอที่จะนำไปจัดสรรโดยวิธีการประมูลเพื่อนำไปให้บริการในระบบ 4G ได้ กสทช. จะจัดการกับปัญหานี้อย่างไรเพื่อให้คลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz มีจำนวน Bandwidth ที่มากพอจะนำไปประมูลเพื่อให้บริการ 4G ซึ่งแม้การเรียกคืนคลื่นความถี่จากหน่วยงานที่ครอบครองจะเป็นมาตรการหนึ่งที่สำคัญ แต่ในกรณีของคลื่นความถี่ 1800 MHz กสท. ซึ่งเป็นเจ้าของคลื่นเดิมก็ได้ออกมาแสดงท่าทีที่ชัดเจนแล้วว่าไม่ประสงค์จะคืนคลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz ให้แก่ กสทช. โดยนำเอากรณีการสิ้นสุดสัญญาสัมปทานของผู้ให้บริการ 2G ข้างต้นมาเป็นข้ออ้างในการเก็บคลื่น 1800 MHz ไว้กับตนเองต่อไป เพื่อเป็นการปกป้องผลประโยชน์ของผู้ใช้บริการ ทั้งที่ตลอดเวลาที่ผ่านมา กสท. เองไม่เคยมีบทบาทในการเป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่มีผู้ใช้บริการจำนวนมากเช่นนี้มาก่อน

ปัญหาที่สำคัญอีกประการหนึ่งของการนำคลื่น 1800 MHz ไปทำการจัดสรรโดยวิธีการประมูลก็คือ หากผู้ที่ชนะการประมูลกลายเป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือรายใหม่ แต่ผู้ใช้บริการยังคงต้องการใช้หรือคงสิทธิในเลขหมายเดิม ที่แม้ในปัจจุบันจะมีมาตรการรองรับการขอเปลี่ยนผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยยังคงใช้เลขหมายเดิม (Mobile Number Portability หรือ MNP) แล้วก็ตาม แต่ผู้ให้บริการส่วนใหญ่ก็ยังมีปัญหาไม่สามารถให้บริการคงสิทธิเลขหมายแก่ผู้ใช้บริการได้ตามที่ กสทช. ได้ออกกฎเกณฑ์กำหนดไว้ โดยผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่จะสามารถโอนย้ายเลขหมายให้แล้วเสร็จได้ในจำนวน 40,000 เลขหมายต่อวัน ซึ่งในความเป็นจริงขีดความสามารถในการย้ายเลขหมายปัจจุบันอยู่ที่เพียง 4,000 เลขหมายต่อวันเท่านั้น หากยังเป็นเช่นนี้ในกรณีผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่บนย่านความถี่ 1800 MHz จำนวน 18 ล้านเลขหมาย อาจต้องใช้เวลาถึง 12 ปี ในการเปลี่ยนย้ายเครือข่าย ในขณะที่ใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่จะมีอายุเพียง 15 ปี

จากหลาย ๆ ปัญหาข้างต้นทำให้เห็นได้ว่าการนำคลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz มาจัดสรรโดยวิธีการประมูล หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการดังกล่าวอย่าง กสทช. เองก็ยังไม่เคยเปิดเผยให้สังคมได้รับรู้ถึงมาตรการในการป้องกันหรือจัดการกับปัญหาดังกล่าวอย่างเป็นรูปธรรม ทั้ง ๆ ที่สัญญาสัมปทานคลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz ของผู้ให้บริการ 2 ราย กำลังจะสิ้นสุดลงในเดือนกันยายน 2556 นี้ ทางคณะกรรมาธิการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชนและการมีส่วนร่วมของประชาชน สภาผู้แทนราษฎร และคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้เห็นถึงสภาพปัญหาดังกล่าวและความสำคัญที่จะเตรียมความพร้อมของการจัดสรรคลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz ที่กำลังจะหมดอายุสัมปทานลงเพื่อที่จะเป็นแนวทางสำหรับคลื่นความถี่ย่าน  อื่น ๆ ที่จะทยอยหมดสัญญาสัมปทานในอนาคต ตลอดจนปัญหาที่เกิดจากกฎระเบียบที่ไม่ชัดเจนอันจะเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนากิจการโทรคมนาคม จึงได้จัดการประชาพิจารณ์ในหัวข้อ ทิศทางโทรคมนาคมไทย หลังสิ้นสุดระบบสัมปทานเมื่อเข้ายุค 3G และ 4G” ขึ้นในวันอังคารที่ 22 มกราคม 2556 ณ ห้องประชุมกรรมาธิการ 213-216 อาคารรัฐสภาสอง ตั้งแต่เวลา 09.00 น. จนถึง 13.00 น. โดยมีตัวแทนจากคณะกรรมการ กสทช. ตัวแทนผู้บริโภคและนักวิชาการด้านโทรคมนาคม มาร่วมกันให้ความเห็นและพิจารณาถึงปัญหาดังกล่าว และหาทางออกเพื่อ    มิให้การเปลี่ยนผ่านของการจัดสรรคลื่นความถี่ในระบบสัมปทานไปสู่การออกใบอนุญาตเกิดผลกระทบต่อผู้ใช้บริการ จึงขอเชิญผู้สนใจความเป็นไปในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทยทุกท่านเข้าร่วมประชาพิจารณ์ดังกล่าว เพื่อจะได้รับทราบถึงทิศทาง ตลอดจนปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทย หลังจากการประมูล 3G ได้ผ่านพ้นไป  เพื่อจะร่วมกันหาทางออกและป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น โดยลงทะเบียนและสำรองที่นั่งได้ที่  thaitelecom3G4G @gmail.com



อ้างอิง : http://www.dailynews.co.th/article/358/177911

4G ดีกว่า 3G ยังไง ?


เทคโนโลยี 4G ( Forth Generation )
เทคโนโลยี 4จี เป็นเครือข่ายไร้สายความเร็วสูงชนิดพิเศษ หรือเป็นเส้นทางด่วนสำหรับข้อมูลที่ไม่ต้องอาศัยการลากสายเคเบิล โดยระบบเครือข่ายใหม่นี้ จะสามารถใช้งานได้แบบไร้สาย รวมถึงคุณสมบัติการเชื่อมต่อเสมือนจริงในรูปแบบสามมิติ (three-dimensional) ระหว่างผู้ใช้โทรศัพท์ด้วยกันเอง นอกจากนั้น สถานีฐาน ซึ่งทำหน้าที่ในการส่งผ่านสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่จากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง และมีต้นทุนการติดตั้งที่แพงลิ่วในขณะนี้ จะมีให้เห็นกันอย่างแพร่หลายเช่นเดียวกับหลอดไฟฟ้าตามบ้านเลยทีเดียว สำหรับ 4จี จะสามารถส่งผ่านข้อมูลแบบไร้สายด้วยระดับความเร็วสูงที่เพิ่มขึ้นถึง 100 เมกะไบต์ต่อวินาที ซึ่งห่างจากความเร็วของชุดอุปกรณ์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ที่ระดับ 10 กิโลบิตต่อวินาที

ลักษณะเด่นของ 4G
4G คือ Forth Generation ซึ่งในบ้านเรายังไม่มีให้เห็นกัน เมื่อพูดถึงเทคโนโลยีสื่อสารในยุค 4G เรื่องความเร็วนั้นเหนือกว่า 3G มาก คือทำความเร็วในการสื่อสารได้ถึงระดับ 20-40 Mbps เมื่อเทียบกับความเร็วที่ได้จาก 3G นั้นคนละเรื่องกันเลย ที่ญี่ปุ่นนั้นเครือข่ายโทรศัพท์ที่ใช้เทคโนโลยี 4G สามารถให้บริการรับชมรายการโทรทัศน์ผ่านมือถือได้แล้ว หรือจะโหลดตัวอย่างภาพยนตร์มาชมบนโทรศัพท์มือถือก็มีให้เห็นเช่นกัน ทำไมญี่ปุ่นถึงรีบกระโดดไปสู่ยุค 4G กันเร็วเหลือเกิน คำตอบง่าย ๆ ก็คือ ดิจิตอลคอนเทนต์ เป็นตัวผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นนั่นเอง เมื่อผู้ให้บริการหลายหลายรูปแบบที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยจำเป็นต้องอาศัยเครือข่ายที่มีความเร็วสูง สามารถรับส่งข้อมูลได้ในปริมาณมาก ๆ
ดังนั้น การผลักดันตัวเองให้เข้าสู่ยุค 4G ที่ใช้เทคโนโลยีที่เหนือกว่า 3G ก่อนคู่แข่ง? น่าจะเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องที่สุด
ความโดดเด่นของ 4G คือ ถูกออกแบบมาเพื่อการใช้งานบนเครือข่ายที่กินพื้นที่กว้างก็ได้หรือจะทำเป็นเครือข่ายขนาดย่อม ๆ แบบ WLAN ได้อีกด้วย นั่นจึงทำให้หลายคนมองว่า 4G จะมาเบียดเทคโนโลยีของ Wi-Fi หรือไม่? เพราะสามารถใช้งานได้ทั้งสองแบบ?
อย่างไรก็ตามในประเทศไทยยังคงอิงกับมาตรฐานของ 3G อยู่ ซึ่งยังไม่มีทีท่าว่าจะขยับขยายไปสู่ยุค 4G เลย เพราะว่า Wimax กำลังเข้ามานั่นเอง ระบบสื่อสารแห่งอนาคตที่ให้ความยืดหยุ่นสูง สามารถครอบคลุมพื้นที่ได้กว้างไกล ความเร็วในการสื่อสารสูงสุดในขณะนี้

ในเมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ทำไมไม่รวมเทคโนโลยี 3G กับ WiMAX เข้าด้วยกัน และพัฒนาให้เป็น interim 4G หรือ 4G เฉพาะกิจ เพื่อไปเร่งพัฒนา 4G ตัวจริง (Real 4G) กันออกมาไม่ดีกว่าหรือ จึงเป็นเสียงที่คิดดังๆจากหลายกลุ่มในปัจจุบัน
แน่นอนที่ว่า คงจะไม่ใช่แนวคิดของ 4G ที่หลายฝ่ายตั้งความหวังไว้ เพราะอย่างน้อยที่เห็นได้ชัดเจนอย่างหนึ่งคือ เทคโนโลยีทั้งสองยังไม่สามารถรองรับความเร็วในการสื่อสารข้อมูลที่ดาวน์ลิงค์/อัพลิงค์ (downlink/uplink) ขณะกำลังเคลื่อนที่ในกรณีของ GSM ที่ 100 mbps/50 mbps และกรณี CDMA ที่ต้องการให้เหนือกว่า GSM โดยจะให้มีความเร็วเป็น 129 mbps/75.6 mbps

ทำไมจึงอยากได้ 4G
เป็นคำถามที่น่าสนใจ มีเหตุผลอะไรจึงอยากได้เทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่ในยุคที่ 4 หรือ 4G กันมาก ถ้าจะสรุปเป็นคำตอบก็คงจะได้หลายประการด้วยกัน ซึ่งจะกล่าวถึงพอเป็นสังเขปดังนี้
1. สนับสนุนการให้บริการมัลติมีเดียในลักษณะที่สามารถโต้ตอบได้ เช่น อินเทอร์เน็ตไร้สาย และ เทเลคอนเฟอเรนซ์  เป็นต้น
2. มีแบนด์วิทกว้างกว่า? สามารถรับ-ส่งข้อมูลด้วยอัตราความเร็ว (bit rate) สูงกว่า 3G
3. ใช้งานได้ทั่วโลก (global mobility) และ service portability
4. ค่าใช้จ่ายถูกลง
5. คุ้มค่าต่อการลงทุนด้านโครงข่าย

พัฒนาการของ 4G สำหรับมาตรฐานต่างๆ
หากพิจารณาในบริบทของมาตรฐานเทคโนโลยีระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่เซลลูลาร์แบบดิจิทัลที่ใช้งานกันอยู่ในขณะนี้ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ค่ายใหญ่ๆ คือ จีเอสเอ็ม (GSM) และ ซีดีเอ็มเอ (CDMA) แล้วสามารถสรุปเป็นตารางเปรียบเทียบลำดับพัฒนาการของมาตรฐานได้ดังตารางข้างล่างนี้

ในการพัฒนาเทคโนโลยี 4G ของ GSM กับ CDMA นั้น ยังคงแข่งขันกันอยู่ต่อไป กล่าวคือ
GSM จะพัฒนาสู่ 4G โดยใช้รูปแบบการเข้าถึง (access type) เป็น UMTS LTE (Universal Mobile Telephone System ? Long term Evaluation) คาดหมายว่า จะสามารถทำความเร็วในการดาวน์ลิงค์ / อัพลิงค์ได้ที่ 100 mbps / 50 mbps
ในขณะที่ CDMA ใช้รูปแบบการเข้าถึงเป็น CDMA EV-DO Rev.C (กล่าวคือ เป็น UMB หรือ Ultra-mobile broadband) และมีความเร็วในการดาวน์ลิงค์ / อัพลิงค์ที่ 129 mbps / 75.6 mbps
ตัวเลขความเร็วของทั้งสองค่ายจะเป็นราคาคุยหรือไม่คงต้องติดตามผลกันต่อไป
หาก 4G จะเกิดจากการรวม WiMax เข้ากับ 3G
ท่ามกลางกระแสการแข่งขันระหว่างเทคโนโลยี 3G ที่กำลังถูกเทคโนโลยีใหม่อย่างไวแมกซ์ (WiMAX) เข้ามาตีเสมอ และในอนาคตมีแนวโน้มว่าจะมีโอกาสมาเหนือกว่า 3G อีกด้วย
นักวิเคราะห์และผู้เกี่ยวข้องในวงการโทรคมนาคมหลายกลุ่ม กล่าวกันถึงขนาดที่ว่า ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เซลลูลาร์ของหลายประเทศที่ปัจจุบันครองตลาดส่วนใหญ่ของประเทศหรือมีอำนาจเหนือตลาดคงจะไม่ยอมให้บริการไวแมกซ์เกิดขึ้นในตลาดได้ง่ายๆ ประกอบกับบางประเทศยังมีปัญหาต่างๆที่เป็นอุปสรรคต่อการให้บริการไวแมกซ์ เช่น แผนเลขหมายแห่งชาติที่มีการจัดสรรความถี่ให้กับบริการไวแมกซ์ กฎ ระเบียบในการกำกับดูแลเพื่อให้เกิดความเรียบร้อยและมีการแข่งขันที่เป็นธรรม และความพร้อมในการลงทุนของผู้ให้บริการ เป็นต้น
หากจะรวมกันจริงๆแล้ว หลายฝ่ายยังมีความเชื่อว่า 3G คงจะไม่ถึงกับไปรวมอยู่ใต้เทคโนโลยีที่เป็นหนึ่งเดียว เนื่องจาก 4G ควรจะเป็นเทคโนโลยีที่สามารถเข้าถึงได้ที่ระดับความเร็วอิเธอร์เน็ต (เช่น 10 Mbps) และใช้งานร่วมกัน (integrated) ได้ทั้งในลักษณะที่เป็นเครือข่ายท้องถิ่นหรือแลน (LAN | local area network) กับแวน (WAN | wide area network) แบบไร้สาย ด้วยการรวมเทคโนโลยี 3G และ WiMAX เข้าด้วยกันในเครื่องเดียวกัน
โดยมาตรฐานของ WiMax หรือ 802.16 สามารถให้บริการด้านบรอดแบนด์ไร้สายได้ไกลถึง 30 ไมล์ด้วยความเร็วประมาณ 10 Mbps
สิ่งที่ยังเป็นปัญหาอยู่สำหรับบริการ WiMAX มีหลายประการที่ต้องมีการพัฒนาต่อไปจากที่สามารถแก้ปัญหาบางอย่างได้ในระดับหนึ่งแล้ว เช่น ตัวมาตรฐานเองที่ยังไม่ค่อยนิ่งเท่าใดนัก การพัฒนาอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องของโครงข่าย (ซึ่งรวมถึงตัวเครื่องลูกข่ายด้วย) การเคลื่อนที่ของลูกข่ายจากสถานีฐานหนึ่งไปยังอีกสถานีฐานหนึ่งโดยไม่มีปัญหาสายหลุดหรืออาการสัญญาณสะดุด เป็นต้น
จึงเป็นที่เชื่อได้ว่าในขณะนี้คงต้องรอให้มาตรฐานเทคโนโลยี WiMAX ผ่านกระบวนการพัฒนาจนถึงขั้นเป็นมาตรฐานที่สมบูรณ์ (mature) แล้ว อาจเป็นไปได้ที่จะมีความพยายามนำเทคโนโลยี 3G และ WiMAX มาผสมผสานกันเป็น 4G หากกลุ่มที่พัฒนา 4G ไม่รีบชิงพัฒนา 4G หนีการรวมตัวกับ WiMAX ไปเสียก่อน



อ้างอิง   : http://4gvs3gth.blogspot.com/