วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

แอพพลิเคชั่น (HD Multimedia)




Faster, Richer Entertainment
ที่เมื่อเชื่อมต่อได้ในอัตราความเร็วที่สูงขึ้น ก็ย่อมทำให้ Content ที่จะถูกส่งถึงมือผู้ใช้บริการได้ในคุณภาพที่ดียิ่งขึ้นในรูปแบบ HD Multimedia Contents  แม้อยู่ในช่วงการทดสอบแต่ก็ทำให้เราเห็น Trend ว่าในเชิงของ Content และพฤติกรรมผู้บริโภคมีความพร้อมเป็นอย่างมากสำหรับการให้ หรือใช้บริการในรูปแบบนี้



อ้างอิง : http://www.ais.co.th/4g/app.html

แอพพลิเคชั่น (Telemedicine)



Faster, Better Life
ด้วยเทคโนโลยี 4G ที่สามารถส่งผ่านข้อมูลจำนวนมากได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ทำให้การ consult และส่งข้อมูลคนไข้จำนวนมากสามารถไปถึงผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์จากสถานที่ห่างไกลได้อย่างสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น



อ้างอิง : http://www.ais.co.th/4g/app.html

แอพพลิเคชั่น (video interactive)



Real - Time
video interactive
Faster, Better Interactive Experience
ด้วยความสามารถในการรับส่งสัญญาณของ 4G Network เราจึงติดต่อสื่อสารผ่านการส่งข้อมูลภาพ และเสียงแบบ High Definition ( HD ) ได้อย่างรวดเร็วไม่ติดขัด ทำให้สามารถเห็นหน้าผู้สนทนาได้อย่างคมชัด และสื่อสารได้แบบ Real-time ดังนั้นการติดต่อสื่อสารแบบ Real Time VDO Interactive จะช่วยให้คุณสามารถสื่อสารกันได้ใกล้ชิดกันยิ่งกว่าเดิม ถึงแม้จะอยู่ห่างไกลกันแต่หมือนใกล้แค่เอื้อม



อ้างอิง : http://www.ais.co.th/4g/app.html




แอพพลิเคชั่น (4G to Wifi)



Faster, Larger Capacity
ด้วยความเร็วของ 4G Network ที่มีประสิทธิภาพด้านความเร็วสูง (>100 Mbps) การให้บริการ 4G ผ่าน Wifi Adaptor จะทำให้เพิ่มโอกาสในการเข้าถึง Internet ได้อย่างง่ายดาย และรวดเร็วมากยิ่งขึ้น เพียงมี Aircard 4G และ Wifi Adaptor เมื่อเชื่อมต่อแล้ว สามารถแชร์สัญญาณ 4G เพื่อให้ใช้พร้อมกันกับอุปกรณ์ที่รองรับสัญญาณ Wifi ได้อย่างสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น เสมือนกับถนนที่มีขนาดใหญ่ยิ่งขึ้น ก็สามารถที่จะรองรับรถได้มากขึ้น และวิ่งเร็วได้มากขึ้นด้วย



อ้างอิง : http://www.ais.co.th/4g/app.html

ประโยชน์ของระบบ 4G


เนื่องจากการรับส่งข้อมูลความเร็วสูงผ่านระบบไร้สายของระบบ 4G ทำให้เราสามารถใช้งานระบบ 4G ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งทางด้านภาพและเสียง เช่น การดาวน์โหลดหรือรับชมวิดีโอ/ภาพยนต์แบบความคมชัดสูง (HD) การเรียนการสอนทางไกลผ่านระบบโทรศัพท์ไร้สาย การรักษาพยาบาลในแหล่งทุรกันดาน การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของเกษตรกรและอาชีพอื่นๆ นอกจากนี้ยังช่วยให้อุปกรณ์พกพาเช่น โทรศัพท์มือถือ แทบเล็ต และ notebook computer สามารถทำงานได้อย่างเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
จากประโยชน์ของระบบ 4G ที่มากมายข้างต้น ทำให้ประเทศต่างๆหันมาใช้ระบบนี้กันอย่างแพร่หลาย ทั้งสหรัฐอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น เกาหลี สิงค์โปร์หรือแม้กระทั่งเพื่อบ้านใกล้ชิดของเราอย่างประเทศลาวก็มีการเปิดให้บริการระบบโทรศัพท์ 4G แล้ว แต่สำหรับประเทศไทยของเรา ทางบริษัททีโอที จำกัด (มหาชน) ก็กำลังเริ่มทดสอบระบบนี้เช่นกัน โดยทดสอบบนคลื่นความถี่ 1800 และ 2300 MHz คาดว่าอีกำม่นานประเทศของเราน่าจะมีระบบโทรศัพท์ 4G ใช้งานกัน
ส่วนโทรศัพท์เคลื่อนที่และแทบเล็ตที่รองรับการทำงานในระบบ 4G นั้นมีอยู่เกือบจะทุกยี่ห้อ ทั้ง iPhone, iPad, Samsung Galaxy, LG และ HTC เป็นต้น



อ้างอิง : http://www.xn--42c8ao1akazf5c2be0gsk.net/4g

4G สำหรับคนไทย




การเกิดขึ้นของระบบ 3G หรือเทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลทั้งภาพและเสียงผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงในประเทศไทย อันเนื่องมาจากการจัดประมูลคลื่นความถี่ย่าน 2.1 GHz โดยคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เมื่อเดือนตุลาคม 2555 ที่ผ่านมา ถือเป็นพัฒนาการขั้นสำคัญอันหนึ่งของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมในประเทศไทย ซึ่งนอกจากจะเป็นการยกระดับในทางเทคโนโลยีแล้วยังเป็นการเริ่มต้นของการใช้ระบบใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่มาแทนที่ระบบสัญญาสัมปทานที่ใช้มาอย่างยาวนาน

อย่างไรก็ตาม ระบบ 2G อันเป็นเทคโนโลยีที่เน้นการติดต่อสื่อสารด้วยเสียง ซึ่งมีมาก่อนระบบ 3G ก็ยังเป็นระบบการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่มีผู้ใช้สูงสุดในปัจจุบัน โดยเฉพาะระบบ 2G บนย่านความถี่ 1800 MHz ของบริษัท กสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) นั้น ปัจจุบันยังมีผู้ใช้บริการอยู่ถึง 18 ล้านเลขหมาย ภายใต้สัมปทานของบริษัท กสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) โดย กสท. เป็นผู้ให้บริการประมาณ 200,000 เลขหมาย นอกจากนี้ยังมีผู้ให้บริการอีก 2 ราย ที่ให้บริการภายใต้สัมปทานของ กสท. ซึ่งคลื่นความถี่ 1800 MHz นำไปให้บริการระบบ 2G อีกประมาณ 17 ล้านเลขหมายเศษ ได้แก่ บริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทลูกของบริษัท  แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) โดยสัมปทานดังกล่าวจะสิ้นสุดลงในเดือนกันยายน 2556 ทำให้เกิดคำถามว่า หลังจากหมดสัญญาสัมปทานสำหรับคลื่นความถี่ 1800 MHz ที่ใช้กับระบบ 2G แล้ว กสทช. จะดำเนินการจัดสรรคลื่นความถี่ 1800 MHz นี้อย่างไร  โดยไม่เกิดผลกระทบสิทธิของผู้ใช้ประโยชน์ และให้เกิดประโยชน์สูงสุด

นอกจากการให้บริการด้านเสียงด้วยระบบ 2G แล้ว คลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz ยังสามารถนำไปให้บริการเพื่อส่งผ่านข้อมูลทั้งภาพและเสียงในระบบ 4G (Long Term Evolution หรือ LTE) ได้อีกด้วย โดยคลื่น 1800 MHz ที่จะนำไปให้บริการ 4G นั้น จะต้องมีแถบความถี่ (Bandwidth) ที่กว้างหรือมีจำนวนที่มากพอ คลื่นความถี่ที่ผู้ให้บริการ 2G ในปัจจุบันถือครองอยู่รายละ 12.5 MHz ยังไม่เพียงพอที่จะนำไปจัดสรรโดยวิธีการประมูลเพื่อนำไปให้บริการในระบบ 4G ได้ กสทช. จะจัดการกับปัญหานี้อย่างไรเพื่อให้คลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz มีจำนวน Bandwidth ที่มากพอจะนำไปประมูลเพื่อให้บริการ 4G ซึ่งแม้การเรียกคืนคลื่นความถี่จากหน่วยงานที่ครอบครองจะเป็นมาตรการหนึ่งที่สำคัญ แต่ในกรณีของคลื่นความถี่ 1800 MHz กสท. ซึ่งเป็นเจ้าของคลื่นเดิมก็ได้ออกมาแสดงท่าทีที่ชัดเจนแล้วว่าไม่ประสงค์จะคืนคลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz ให้แก่ กสทช. โดยนำเอากรณีการสิ้นสุดสัญญาสัมปทานของผู้ให้บริการ 2G ข้างต้นมาเป็นข้ออ้างในการเก็บคลื่น 1800 MHz ไว้กับตนเองต่อไป เพื่อเป็นการปกป้องผลประโยชน์ของผู้ใช้บริการ ทั้งที่ตลอดเวลาที่ผ่านมา กสท. เองไม่เคยมีบทบาทในการเป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่มีผู้ใช้บริการจำนวนมากเช่นนี้มาก่อน

ปัญหาที่สำคัญอีกประการหนึ่งของการนำคลื่น 1800 MHz ไปทำการจัดสรรโดยวิธีการประมูลก็คือ หากผู้ที่ชนะการประมูลกลายเป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือรายใหม่ แต่ผู้ใช้บริการยังคงต้องการใช้หรือคงสิทธิในเลขหมายเดิม ที่แม้ในปัจจุบันจะมีมาตรการรองรับการขอเปลี่ยนผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยยังคงใช้เลขหมายเดิม (Mobile Number Portability หรือ MNP) แล้วก็ตาม แต่ผู้ให้บริการส่วนใหญ่ก็ยังมีปัญหาไม่สามารถให้บริการคงสิทธิเลขหมายแก่ผู้ใช้บริการได้ตามที่ กสทช. ได้ออกกฎเกณฑ์กำหนดไว้ โดยผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่จะสามารถโอนย้ายเลขหมายให้แล้วเสร็จได้ในจำนวน 40,000 เลขหมายต่อวัน ซึ่งในความเป็นจริงขีดความสามารถในการย้ายเลขหมายปัจจุบันอยู่ที่เพียง 4,000 เลขหมายต่อวันเท่านั้น หากยังเป็นเช่นนี้ในกรณีผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่บนย่านความถี่ 1800 MHz จำนวน 18 ล้านเลขหมาย อาจต้องใช้เวลาถึง 12 ปี ในการเปลี่ยนย้ายเครือข่าย ในขณะที่ใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่จะมีอายุเพียง 15 ปี

จากหลาย ๆ ปัญหาข้างต้นทำให้เห็นได้ว่าการนำคลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz มาจัดสรรโดยวิธีการประมูล หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการดังกล่าวอย่าง กสทช. เองก็ยังไม่เคยเปิดเผยให้สังคมได้รับรู้ถึงมาตรการในการป้องกันหรือจัดการกับปัญหาดังกล่าวอย่างเป็นรูปธรรม ทั้ง ๆ ที่สัญญาสัมปทานคลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz ของผู้ให้บริการ 2 ราย กำลังจะสิ้นสุดลงในเดือนกันยายน 2556 นี้ ทางคณะกรรมาธิการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชนและการมีส่วนร่วมของประชาชน สภาผู้แทนราษฎร และคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้เห็นถึงสภาพปัญหาดังกล่าวและความสำคัญที่จะเตรียมความพร้อมของการจัดสรรคลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz ที่กำลังจะหมดอายุสัมปทานลงเพื่อที่จะเป็นแนวทางสำหรับคลื่นความถี่ย่าน  อื่น ๆ ที่จะทยอยหมดสัญญาสัมปทานในอนาคต ตลอดจนปัญหาที่เกิดจากกฎระเบียบที่ไม่ชัดเจนอันจะเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนากิจการโทรคมนาคม จึงได้จัดการประชาพิจารณ์ในหัวข้อ ทิศทางโทรคมนาคมไทย หลังสิ้นสุดระบบสัมปทานเมื่อเข้ายุค 3G และ 4G” ขึ้นในวันอังคารที่ 22 มกราคม 2556 ณ ห้องประชุมกรรมาธิการ 213-216 อาคารรัฐสภาสอง ตั้งแต่เวลา 09.00 น. จนถึง 13.00 น. โดยมีตัวแทนจากคณะกรรมการ กสทช. ตัวแทนผู้บริโภคและนักวิชาการด้านโทรคมนาคม มาร่วมกันให้ความเห็นและพิจารณาถึงปัญหาดังกล่าว และหาทางออกเพื่อ    มิให้การเปลี่ยนผ่านของการจัดสรรคลื่นความถี่ในระบบสัมปทานไปสู่การออกใบอนุญาตเกิดผลกระทบต่อผู้ใช้บริการ จึงขอเชิญผู้สนใจความเป็นไปในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทยทุกท่านเข้าร่วมประชาพิจารณ์ดังกล่าว เพื่อจะได้รับทราบถึงทิศทาง ตลอดจนปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทย หลังจากการประมูล 3G ได้ผ่านพ้นไป  เพื่อจะร่วมกันหาทางออกและป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น โดยลงทะเบียนและสำรองที่นั่งได้ที่  thaitelecom3G4G @gmail.com



อ้างอิง : http://www.dailynews.co.th/article/358/177911

4G ดีกว่า 3G ยังไง ?


เทคโนโลยี 4G ( Forth Generation )
เทคโนโลยี 4จี เป็นเครือข่ายไร้สายความเร็วสูงชนิดพิเศษ หรือเป็นเส้นทางด่วนสำหรับข้อมูลที่ไม่ต้องอาศัยการลากสายเคเบิล โดยระบบเครือข่ายใหม่นี้ จะสามารถใช้งานได้แบบไร้สาย รวมถึงคุณสมบัติการเชื่อมต่อเสมือนจริงในรูปแบบสามมิติ (three-dimensional) ระหว่างผู้ใช้โทรศัพท์ด้วยกันเอง นอกจากนั้น สถานีฐาน ซึ่งทำหน้าที่ในการส่งผ่านสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่จากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง และมีต้นทุนการติดตั้งที่แพงลิ่วในขณะนี้ จะมีให้เห็นกันอย่างแพร่หลายเช่นเดียวกับหลอดไฟฟ้าตามบ้านเลยทีเดียว สำหรับ 4จี จะสามารถส่งผ่านข้อมูลแบบไร้สายด้วยระดับความเร็วสูงที่เพิ่มขึ้นถึง 100 เมกะไบต์ต่อวินาที ซึ่งห่างจากความเร็วของชุดอุปกรณ์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ที่ระดับ 10 กิโลบิตต่อวินาที

ลักษณะเด่นของ 4G
4G คือ Forth Generation ซึ่งในบ้านเรายังไม่มีให้เห็นกัน เมื่อพูดถึงเทคโนโลยีสื่อสารในยุค 4G เรื่องความเร็วนั้นเหนือกว่า 3G มาก คือทำความเร็วในการสื่อสารได้ถึงระดับ 20-40 Mbps เมื่อเทียบกับความเร็วที่ได้จาก 3G นั้นคนละเรื่องกันเลย ที่ญี่ปุ่นนั้นเครือข่ายโทรศัพท์ที่ใช้เทคโนโลยี 4G สามารถให้บริการรับชมรายการโทรทัศน์ผ่านมือถือได้แล้ว หรือจะโหลดตัวอย่างภาพยนตร์มาชมบนโทรศัพท์มือถือก็มีให้เห็นเช่นกัน ทำไมญี่ปุ่นถึงรีบกระโดดไปสู่ยุค 4G กันเร็วเหลือเกิน คำตอบง่าย ๆ ก็คือ ดิจิตอลคอนเทนต์ เป็นตัวผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นนั่นเอง เมื่อผู้ให้บริการหลายหลายรูปแบบที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยจำเป็นต้องอาศัยเครือข่ายที่มีความเร็วสูง สามารถรับส่งข้อมูลได้ในปริมาณมาก ๆ
ดังนั้น การผลักดันตัวเองให้เข้าสู่ยุค 4G ที่ใช้เทคโนโลยีที่เหนือกว่า 3G ก่อนคู่แข่ง? น่าจะเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องที่สุด
ความโดดเด่นของ 4G คือ ถูกออกแบบมาเพื่อการใช้งานบนเครือข่ายที่กินพื้นที่กว้างก็ได้หรือจะทำเป็นเครือข่ายขนาดย่อม ๆ แบบ WLAN ได้อีกด้วย นั่นจึงทำให้หลายคนมองว่า 4G จะมาเบียดเทคโนโลยีของ Wi-Fi หรือไม่? เพราะสามารถใช้งานได้ทั้งสองแบบ?
อย่างไรก็ตามในประเทศไทยยังคงอิงกับมาตรฐานของ 3G อยู่ ซึ่งยังไม่มีทีท่าว่าจะขยับขยายไปสู่ยุค 4G เลย เพราะว่า Wimax กำลังเข้ามานั่นเอง ระบบสื่อสารแห่งอนาคตที่ให้ความยืดหยุ่นสูง สามารถครอบคลุมพื้นที่ได้กว้างไกล ความเร็วในการสื่อสารสูงสุดในขณะนี้

ในเมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ทำไมไม่รวมเทคโนโลยี 3G กับ WiMAX เข้าด้วยกัน และพัฒนาให้เป็น interim 4G หรือ 4G เฉพาะกิจ เพื่อไปเร่งพัฒนา 4G ตัวจริง (Real 4G) กันออกมาไม่ดีกว่าหรือ จึงเป็นเสียงที่คิดดังๆจากหลายกลุ่มในปัจจุบัน
แน่นอนที่ว่า คงจะไม่ใช่แนวคิดของ 4G ที่หลายฝ่ายตั้งความหวังไว้ เพราะอย่างน้อยที่เห็นได้ชัดเจนอย่างหนึ่งคือ เทคโนโลยีทั้งสองยังไม่สามารถรองรับความเร็วในการสื่อสารข้อมูลที่ดาวน์ลิงค์/อัพลิงค์ (downlink/uplink) ขณะกำลังเคลื่อนที่ในกรณีของ GSM ที่ 100 mbps/50 mbps และกรณี CDMA ที่ต้องการให้เหนือกว่า GSM โดยจะให้มีความเร็วเป็น 129 mbps/75.6 mbps

ทำไมจึงอยากได้ 4G
เป็นคำถามที่น่าสนใจ มีเหตุผลอะไรจึงอยากได้เทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่ในยุคที่ 4 หรือ 4G กันมาก ถ้าจะสรุปเป็นคำตอบก็คงจะได้หลายประการด้วยกัน ซึ่งจะกล่าวถึงพอเป็นสังเขปดังนี้
1. สนับสนุนการให้บริการมัลติมีเดียในลักษณะที่สามารถโต้ตอบได้ เช่น อินเทอร์เน็ตไร้สาย และ เทเลคอนเฟอเรนซ์  เป็นต้น
2. มีแบนด์วิทกว้างกว่า? สามารถรับ-ส่งข้อมูลด้วยอัตราความเร็ว (bit rate) สูงกว่า 3G
3. ใช้งานได้ทั่วโลก (global mobility) และ service portability
4. ค่าใช้จ่ายถูกลง
5. คุ้มค่าต่อการลงทุนด้านโครงข่าย

พัฒนาการของ 4G สำหรับมาตรฐานต่างๆ
หากพิจารณาในบริบทของมาตรฐานเทคโนโลยีระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่เซลลูลาร์แบบดิจิทัลที่ใช้งานกันอยู่ในขณะนี้ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ค่ายใหญ่ๆ คือ จีเอสเอ็ม (GSM) และ ซีดีเอ็มเอ (CDMA) แล้วสามารถสรุปเป็นตารางเปรียบเทียบลำดับพัฒนาการของมาตรฐานได้ดังตารางข้างล่างนี้

ในการพัฒนาเทคโนโลยี 4G ของ GSM กับ CDMA นั้น ยังคงแข่งขันกันอยู่ต่อไป กล่าวคือ
GSM จะพัฒนาสู่ 4G โดยใช้รูปแบบการเข้าถึง (access type) เป็น UMTS LTE (Universal Mobile Telephone System ? Long term Evaluation) คาดหมายว่า จะสามารถทำความเร็วในการดาวน์ลิงค์ / อัพลิงค์ได้ที่ 100 mbps / 50 mbps
ในขณะที่ CDMA ใช้รูปแบบการเข้าถึงเป็น CDMA EV-DO Rev.C (กล่าวคือ เป็น UMB หรือ Ultra-mobile broadband) และมีความเร็วในการดาวน์ลิงค์ / อัพลิงค์ที่ 129 mbps / 75.6 mbps
ตัวเลขความเร็วของทั้งสองค่ายจะเป็นราคาคุยหรือไม่คงต้องติดตามผลกันต่อไป
หาก 4G จะเกิดจากการรวม WiMax เข้ากับ 3G
ท่ามกลางกระแสการแข่งขันระหว่างเทคโนโลยี 3G ที่กำลังถูกเทคโนโลยีใหม่อย่างไวแมกซ์ (WiMAX) เข้ามาตีเสมอ และในอนาคตมีแนวโน้มว่าจะมีโอกาสมาเหนือกว่า 3G อีกด้วย
นักวิเคราะห์และผู้เกี่ยวข้องในวงการโทรคมนาคมหลายกลุ่ม กล่าวกันถึงขนาดที่ว่า ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เซลลูลาร์ของหลายประเทศที่ปัจจุบันครองตลาดส่วนใหญ่ของประเทศหรือมีอำนาจเหนือตลาดคงจะไม่ยอมให้บริการไวแมกซ์เกิดขึ้นในตลาดได้ง่ายๆ ประกอบกับบางประเทศยังมีปัญหาต่างๆที่เป็นอุปสรรคต่อการให้บริการไวแมกซ์ เช่น แผนเลขหมายแห่งชาติที่มีการจัดสรรความถี่ให้กับบริการไวแมกซ์ กฎ ระเบียบในการกำกับดูแลเพื่อให้เกิดความเรียบร้อยและมีการแข่งขันที่เป็นธรรม และความพร้อมในการลงทุนของผู้ให้บริการ เป็นต้น
หากจะรวมกันจริงๆแล้ว หลายฝ่ายยังมีความเชื่อว่า 3G คงจะไม่ถึงกับไปรวมอยู่ใต้เทคโนโลยีที่เป็นหนึ่งเดียว เนื่องจาก 4G ควรจะเป็นเทคโนโลยีที่สามารถเข้าถึงได้ที่ระดับความเร็วอิเธอร์เน็ต (เช่น 10 Mbps) และใช้งานร่วมกัน (integrated) ได้ทั้งในลักษณะที่เป็นเครือข่ายท้องถิ่นหรือแลน (LAN | local area network) กับแวน (WAN | wide area network) แบบไร้สาย ด้วยการรวมเทคโนโลยี 3G และ WiMAX เข้าด้วยกันในเครื่องเดียวกัน
โดยมาตรฐานของ WiMax หรือ 802.16 สามารถให้บริการด้านบรอดแบนด์ไร้สายได้ไกลถึง 30 ไมล์ด้วยความเร็วประมาณ 10 Mbps
สิ่งที่ยังเป็นปัญหาอยู่สำหรับบริการ WiMAX มีหลายประการที่ต้องมีการพัฒนาต่อไปจากที่สามารถแก้ปัญหาบางอย่างได้ในระดับหนึ่งแล้ว เช่น ตัวมาตรฐานเองที่ยังไม่ค่อยนิ่งเท่าใดนัก การพัฒนาอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องของโครงข่าย (ซึ่งรวมถึงตัวเครื่องลูกข่ายด้วย) การเคลื่อนที่ของลูกข่ายจากสถานีฐานหนึ่งไปยังอีกสถานีฐานหนึ่งโดยไม่มีปัญหาสายหลุดหรืออาการสัญญาณสะดุด เป็นต้น
จึงเป็นที่เชื่อได้ว่าในขณะนี้คงต้องรอให้มาตรฐานเทคโนโลยี WiMAX ผ่านกระบวนการพัฒนาจนถึงขั้นเป็นมาตรฐานที่สมบูรณ์ (mature) แล้ว อาจเป็นไปได้ที่จะมีความพยายามนำเทคโนโลยี 3G และ WiMAX มาผสมผสานกันเป็น 4G หากกลุ่มที่พัฒนา 4G ไม่รีบชิงพัฒนา 4G หนีการรวมตัวกับ WiMAX ไปเสียก่อน



อ้างอิง   : http://4gvs3gth.blogspot.com/

วิวัฒนาการ 1G ถึง 4G

ยุค 1G
เป็นยุคที่ใช้ระบบอะนาล็อก คือใช้สัญญาณวิทยุในการส่งคลื่นเสียง โดยไม่รองรับการส่งผ่านข้อมูลใดๆทั้งสิ้นซึ่งนั่นก็หมายความว่าสามารถใช้งานทางด้าน Voice ได้อย่างเดียว   คือ โทรออก-รับสาย เท่านั้น ไม่มีการรองรับการใช้งานด้าน Data ใดๆ ทั้งสิ้น .. แม้แต่การรับ-ส่ง SMS ก็ยังทำไม่ได้ในยุค 1G แต่จริงๆแล้ว ...  ในยุคนั้น  ผู้บริโภคก็ยังไม่มีความต้องการในการใช้งานอื่นๆ นอกจากเสียง (Voice) อยู่แล้วโดยปริมาณผู้ใช้โทรศัพท์มือถือยังอยู่ในขอบเขตที่จำกัดมาก และจะพบว่าผู้ใช้มักจะเป็นนักธุรกิจที่ มีรายได้สูงเสียส่วนใหญ่
สรุป
เป็นยุคแรกของการพัฒนาระบบโทรศัพท์แบบเซลลูลาร์ วิธี การมอดูเลตสัญญาณอะนาล็อกเข้าช่องสื่อสารโดยใช้การแบ่งความถี่ออกมาเป็นช่อง เล็ก ๆ ด้วยวิธีการนี้มีข้อจำกัดในเรื่องจำนวนช่องสัญญาณ และการใช้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ติดขัดเรื่องการขยายจำนวนเลขหมาย และการขยายแถบความถี่ โทรศัพท์เซลลูลาร์ยังมีขนาดใหญ่ ใช้กำลังงานไฟฟ้ามาก ในภายหลังจึงเปลี่ยนมา

เทคโนโลยีการสื่อสารไร้สาร ยุค 2G 
ยุค 2G จะ เปลี่ยนจากการส่งคลื่นทางคลื่นวิทยุแบบอะนาล็อกมาเป็นการเข้ารหัส Digital ส่งทางคลื่น Microwave ซึ่งในยุคนี้เอง  เป็นยุคที่เริ่มทำให้เราเริ่มที่จะสามารถใช้งานทางด้าน Data ได้ นอกเหนือจากการใช้งาน Voice เพียงอย่างเดียวใน ยุค 2G นี้ ... เราสามารถ รับ-ส่งข้อมูลต่างๆและติดต่อเชื่อมโยงได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดการกำหนดเส้นทางการเชื่อมกับสถานีฐาน หรือที่เรียกว่า cell site และก่อให้เกิดระบบ GSM (Global System for Mobilization) (ไม่ใช่ชื่อผู้ให้บริการนะครับ)  ซึ่งทำให้เราสามารถถือโทรศัพท์เครื่องเดียวไปใช้ได้เกือบทั่วโลก หรือที่เรียกว่า Roaming

ยุค 2.5G
เป็นยุคที่พัฒนาต่อมาโดยการเข้ารหัสสัญญาณเสียง โดยบีบอัดสัญญาณเสียงในรูปแบบดิจิตอล
การติดต่อจากสถานีลูก หรือตัวโทรศัพท์เคลื่อนที่กับสถานีเบส ใช้วิธีการสองแบบคือ
TDMA -Time Division Multiple Access คือการแบ่งช่องเวลาออกเป็นช่องเล็ก ๆ และแบ่งกันใช้ ทำให้ใช้ช่องสัญญาณความถี่วิทยุได้เพิ่มขึ้นจากเดิมอีกมาก
 CDMA - Code Division Multiple Access เป็นการแบ่งการเข้าถึงตามการเข้ารหัส และการถอดรหัสโดยใส่แอดเดรสหมือน IP ในยุค 2G จึงเป็นการรับส่งสัญญาณโทรศัพท์แบบดิจิตอลหมดแล้ว
ยุค 2.5G หลังจากนั้น  ก็เป็นยุคก้ำกึ่งระหว่าง 2G และ 3G ... ซึ่ง2.5G นี้ เป็นยุคที่กำเนิดเทคโนโลยี GPRS (General Packet Radio Service) นั่นเอง ซึ่งตามหลักการแล้ว ... เทคโนโลยี GPRS นี้สามารถส่งข้อมูลได้ที่ความเร็วสูงสุดถึง 115 Kbps เลยทีเดียว แต่เอาเข้าจริงๆ ความเร็วของ GPRS จะถูกจำกัดให้อยู่ที่ประมาณ 40 kbps เท่านั้น
สรุป
การสื่อสารไร้สายยุค 2.5G ได้รับการพัฒนาต่อยอดมาจากเทคโนโลยีในระดับ 2G แต่มีประสิทธิ-ภาพด้อยกว่ามาตรฐานการสื่อสารไร้สายยุค 3G โดยเทคโนโลยีในยุค 2.5G สามารถให้บริการรับส่งข้อมูลแบบแพคเก็ตที่ความเร็วระดับ 20 – 40 Kbpsสำหรัเทคโนโลยี 2.5G  ที่มีใช้อยู่ตอนนี้ก็คือ -GPRS : (General Packet Radio Service) นับเป็นเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายในระดับ 2.5G

ยุค 2.75G 
เป็นช่วงที่เริ่มมีการใช้เทคโนโลยี EDGE (Enhanced Data rates for Global Evolution)    

EDGE
นั้นถือเป็นเทคโนโลยีต่อยอดของ GPRS และถูกเรียกกันว่าเทคโนโลยียุค 2.75 G (อย่างไม่เป็นทางการ) เป็นทางเลือกก่อนก้าวเข้าสู่ยุค 3G อย่างต่อเนื่อง และคุ้มค่า
ความเร็วการส่งผ่านข้อมูลโดยประมาณของเทคโนโลยียุค 2.75G ความเร็วในการส่งถ่ายข้อมูลสูงสุดประมาณ 384 กิโลบิตต่อวินาที (Kbps) และมีความเร็วในการใช้งานจริงประมาณ80-100 กิโลบิตต่อวินาที (ความเร็วในการใช้งานจริงจะลดลงไปค่อนข้างมาก เนื่องจากระหว่างใช้งาน ระบบต้องแบ่งช่องสัญญาณบางส่วน ไปใช้งานทางด้านเสียงด้วย)

เทคโนโลยี 3G คืออะไร
3G หรือ Third Generation เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารในยุคที่ 3ยุคที่ 3 นั้นจะเป็นอุปกรณ์ที่ผสมผสาน การนำเสนอข้อมูล และ เทคโนโลยี ในปัจจุบันเข้าด้วยกันใช้บริการมัลติมีเดีย และ ส่งผ่านข้อมูลในระบบไร้สายด้วยอัตราความเร็วที่สูงขึ้น
ลักษณะการทำงานของ 3G
ช่องสัญญาณความถี่,ความจุในการรับส่งข้อมูลที่มากกว่า ทำให้ประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลแอพพลิเคชั่น รวมทั้งบริการระบบเสียงดีขึ้น สามารถใช้ บริการมัลติมีเดียได้เต็มที่ และ สมบูรณ์แบบขึ้น บริการ ส่งแฟกซ์, โทรศัพท์ต่างประเทศ, รับ-ส่งข้อความที่มีขนาดใหญ่,ประชุมทางไกลผ่านหน้าจออุปกรณ์สื่อสาร, ดาวน์โหลดเพลง, ชมภาพยนตร์แบบสั้นๆ เทคโนโลยี 3G น่าสนใจอย่างไร
สามารถรับส่งข้อมูลในความเร็วสูง ทำให้การติดต่อสื่อสารเป็นไปได้ อย่างรวดเร็ว และ มีรูปแบบใหม่ๆ มากขึ้น สามารถ ให้บริการระบบเสียง และ แอพพลิเคชั่นรูปแบบใหม่ เช่น จอแสดงภาพสี, เครื่องเล่น mp3, เครื่องเล่นวีดีโอ การดาวน์โหลดเกม, แสดงกราฟฟิก และ การแสดงแผนที่ตั้งต่างๆ ทำให้การสื่อสารเป็นแบบอินเตอร์แอคทีฟ
สร้างความสนุกสนาน และ สมจริงมากขึ้นช่วย ให้ชีวิตประจำวันสะดวกสบายและคล่องตัวขึ้น โดย โทรศัพท์เคลื่อนที่เปรียบเสมือน คอมพิวเตอร์แบบพกพา ,วิทยุส่วนตัว และแม้แต่กล้องถ่ายรูป ผู้ใช้สามารถเช็คข้อมูลใน account ส่วนตัว เพื่อใช้บริการต่างๆ ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ เช่น self-care (ตรวจสอบค่าใช้บริการ), แก้ไขข้อมูลส่วนตัว
ใช้บริการข้อมูลต่างๆ เช่น ข่าวเกาะติดสถานการณ์, ข่าวบันเทิง, ข้อมูลด้านการเงิน, ข้อมูลการท่องเที่ยว และ ตารางนัดหมายส่วนตัว
คุณสมบัติ หลักของ 3G คือ มีการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายของ 3G ตลอดเวลาที่เราเปิดเครื่องโทรศัพท์ (always on) นั่นคือไม่จำเป็นต้องต่อโทรศัพท์เข้าเครือข่าย และ log-in ทุกครั้งเพื่อใช้บริการรับส่งข้อมูล

การเสียค่าบริการ จะเกิดขึ้นเมื่อมีการเรียกใช้ข้อมูลผ่านเครือข่ายเท่านั้น โดยจะต่างจากระบบทั่วไป ที่จะเสียค่าบริการตั้งแต่เราล็อกอินเข้าในระบบเครือข่าย
อุปกรณ์สื่อสารไร้สายระบบ 3G
mobile phone
PDA (Personal Digital Assistant )
Laptop
Palmtop
PC (Personal Computer)

4G ( Forth Generation ) 
เทคโนโลยี 4จี เป็นเครือข่ายไร้สายความเร็วสูงชนิดพิเศษ หรือเป็นเส้นทางด่วนสำหรับข้อมูลที่ไม่ต้องอาศัยการลากสายเคเบิล โดยระบบเครือข่ายใหม่นี้ จะสามารถใช้งานได้แบบไร้สาย รวมถึงคุณสมบัติการเชื่อมต่อเสมือนจริงในรูปแบบสามมิติ (three-dimensional) ระหว่างผู้ใช้โทรศัพท์ด้วยกันเอง นอกจากนั้น สถานีฐาน ซึ่งทำหน้าที่ในการส่งผ่านสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่จากเครื่องหนึ่งไปยังอีก เครื่องหนึ่ง และมีต้นทุนการติดตั้งที่แพงลิ่วในขณะนี้ จะมีให้เห็นกันอย่างแพร่หลายเช่นเดียวกับหลอดไฟฟ้าตามบ้านเลยทีเดียว สำหรับ 4จี จะสามารถส่งผ่านข้อมูลแบบไร้สายด้วยระดับความเร็วสูงที่เพิ่มขึ้นถึง 100 เมกะไบต์ต่อวินาที ซึ่งห่างจากความเร็วของชุดอุปกรณ์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ที่ระดับ 10 กิโลบิตต่อวินาที

ลักษณะเด่นของ 4G
4G คือ Forth Generation ซึ่งในบ้านเรายังไม่มีให้เห็นกัน  เมื่อพูดถึงเทคโนโลยีสื่อสารในยุค 4G  เรื่องความเร็วนั้นเหนือกว่า 3G มาก  คือทำความเร็วในการสื่อสารได้ถึงระดับ 20-40 Mbps  เมื่อเทียบกับความเร็วที่ได้จาก 3G นั้นคนละเรื่องกันเลย  ที่ญี่ปุ่นนั้นเครือข่ายโทรศัพท์ที่ใช้เทคโนโลยี 4G สามารถให้บริการรับชมรายการโทรทัศน์ผ่านมือถือได้แล้ว  หรือจะโหลดตัวอย่างภาพยนตร์มาชมบนโทรศัพท์มือถือก็มีให้เห็นเช่นกัน  ทำไมญี่ปุ่นถึงรีบกระโดดไปสู่ยุค 4G  กันเร็วเหลือเกิน คำตอบง่าย ๆ ก็คือ ดิจิตอลคอนเทนต์เป็นตัวผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นนั่นเอง  เมื่อผู้ให้บริการหลายหลายรูปแบบที่จะเกิดขึ้นในอนาคต  โดยจำเป็นต้องอาศัยเครือข่ายที่มีความเร็วสูง  สามารถรับส่งข้อมูลได้ในปริมาณมาก ๆ  ดังนั้น  การผลักดันตัวเองให้เข้าสู่ยุค 4G ที่ใช้เทคโนโลยีที่เหนือกว่า  3G ก่อนคู่แข่ง  น่าจะเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องที่สุด
ความโดดเด่นของ 4G คือ ถูกออกแบบมาเพื่อการใช้งานบนเครือข่ายที่กินพื้นที่กว้างก็ได้หรือจะทำเป็น เครือข่ายขนาดย่อม ๆ แบบ WLAN ได้อีกด้วย  นั่นจึงทำให้หลายคนมองว่า 4G จะมาเบียดเทคโนโลยีของ Wi-Fi หรือไม่  เพราะสามารถใช้งานได้ทั้งสองแบบ
อย่าง ไรก็ตามในประเทศไทยยังคงอิงกับมาตรฐานของ 3G อยู่ ซึ่งยังไม่มีทีท่าว่าจะขยับขยายไปสู่ยุค 4G เลย  เพราะว่า Wimax กำลังเข้ามานั่นเอง  ระบบสื่อสารแห่งอนาคตที่ให้ความยืดหยุ่นสูง  สามารถครอบคลุมพื้นที่ได้กว้างไกล  ความเร็วในการสื่อสารสูงสุดในขณะนี้
ใน เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ทำไมไม่รวมเทคโนโลยี 3G กับ WiMAX เข้าด้วยกัน และพัฒนาให้เป็น “interim 4G” หรือ “4G เฉพาะกิจเพื่อไปเร่งพัฒนา “4G ตัวจริง” (Real 4G) กันออกมาไม่ดีกว่าหรือ จึงเป็นเสียงที่คิดดังๆจากหลายกลุ่มในปัจจุบัน 
แน่นอนที่ว่า คงจะไม่ใช่แนวคิดของ 4G ที่หลายฝ่ายตั้งความหวังไว้ เพราะอย่างน้อยที่เห็นได้ชัดเจนอย่างหนึ่งคือ เทคโนโลยีทั้งสองยังไม่สามารถรองรับความเร็วในการสื่อสารข้อมูลที่ดาวน์ ลิงค์/อัพลิงค์ (downlink/uplink) ขณะกำลังเคลื่อนที่ในกรณีของ GSM ที่ 100 mbps/50 mbps และกรณี CDMA ที่ต้องการให้เหนือกว่า GSM โดยจะให้มีความเร็วเป็น 129 mbps/75.6 mbps

ทำไมจึงอยากได้ 4G
เป็น คำถามที่น่าสนใจ มีเหตุผลอะไรจึงอยากได้เทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่ในยุคที่ 4 หรือ 4G กันมาก ถ้าจะสรุปเป็นคำตอบก็คงจะได้หลายประการด้วยกัน ซึ่งจะกล่าวถึงพอเป็นสังเขปดังนี้

1. สนับสนุนการให้บริการมัลติมีเดียในลักษณะที่สามารถโต้ตอบได้ เช่น อินเทอร์เน็ตไร้สาย และ เทเลคอนเฟอเรนซ์  เป็นต้น

2. มีแบนด์วิทกว้างกว่า  สามารถรับ-ส่งข้อมูลด้วยอัตราความเร็ว (bit rate) สูงกว่า 3G

3. ใช้งานได้ทั่วโลก (global mobility) และ service portability

4. ค่าใช้จ่ายถูกลง

5. คุ้มค่าต่อการลงทุนด้านโครงข่าย

พัฒนาการของ 4G สำหรับมาตรฐานต่างๆ
หากพิจารณาในบริบทของมาตรฐานเทคโนโลยีระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่เซลลูลาร์แบบดิ จิทัลที่ใช้งานกันอยู่ในขณะนี้ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ค่ายใหญ่ๆ คือ จีเอสเอ็ม (GSM) และ ซีดีเอ็มเอ (CDMA) แล้วสามารถสรุปเป็นตารางเปรียบเทียบลำดับพัฒนาการของมาตรฐานได้ดังตารางข้างล่างนี้

ในการพัฒนาเทคโนโลยี 4G ของ GSM กับ CDMA นั้น ยังคงแข่งขันกันอยู่ต่อไป กล่าวคือ 
GSM จะพัฒนาสู่ 4G โดยใช้รูปแบบการเข้าถึง (access type) เป็น UMTS LTE (Universal Mobile Telephone System – Long term Evaluation) คาดหมายว่า จะสามารถทำความเร็วในการดาวน์ลิงค์ / อัพลิงค์ได้ที่ 100 mbps / 50 mbps 
ในขณะที่ CDMA ใช้รูปแบบการเข้าถึงเป็น CDMA EV-DO Rev.C (กล่าวคือ เป็น UMB หรือ Ultra-mobile broadband) และมีความเร็วในการดาวน์ลิงค์ / อัพลิงค์ที่ 129 mbps / 75.6 mbps 
หาก 4G จะเกิดจากการรวม WiMax เข้ากับ 3G
ท่ามกลางกระแสการแข่งขันระหว่างเทคโนโลยี 3G ที่กำลังถูกเทคโนโลยีใหม่อย่างไวแมกซ์ (WiMAX) เข้ามาตีเสมอ และในอนาคตมีแนวโน้มว่าจะมีโอกาสมาเหนือกว่า 3G อีกด้วย  
นักวิเคราะห์และผู้เกี่ยวข้องในวงการโทรคมนาคมหลายกลุ่ม กล่าวกันถึงขนาดที่ว่า ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เซลลูลาร์ของหลายประเทศที่ปัจจุบันครองตลาด ส่วนใหญ่ของประเทศหรือมีอำนาจเหนือตลาดคงจะไม่ยอมให้บริการไวแมกซ์เกิดขึ้น ในตลาดได้ง่ายๆ  ประกอบกับบางประเทศยังมีปัญหาต่างๆที่เป็นอุปสรรคต่อการให้บริการไวแมกซ์ เช่น แผนเลขหมายแห่งชาติที่มีการจัดสรรความถี่ให้กับบริการไวแมกซ์  กฎ ระเบียบในการกำกับดูแลเพื่อให้เกิดความเรียบร้อยและมีการแข่งขันที่เป็น ธรรม  และความพร้อมในการลงทุนของผู้ให้บริการ เป็นต้น

หากจะรวมกัน จริงๆแล้ว หลายฝ่ายยังมีความเชื่อว่า 3G คงจะไม่ถึงกับไปรวมอยู่ใต้เทคโนโลยีที่เป็นหนึ่งเดียว  เนื่องจาก 4G ควรจะเป็นเทคโนโลยีที่สามารถเข้าถึงได้ที่ระดับความเร็วอิเธอร์เน็ต (เช่น 10 Mbps) และใช้งานร่วมกัน (integrated) ได้ทั้งในลักษณะที่เป็นเครือข่ายท้องถิ่นหรือแลน (LAN – local area network) กับแวน (WAN – wide area network) แบบไร้สาย ด้วยการรวมเทคโนโลยี 3G และ WiMAX เข้าด้วยกันในเครื่องเดียวกัน
โดยมาตรฐานของ WiMax หรือ 802.16 สามารถให้บริการด้านบรอดแบนด์ไร้สายได้ไกลถึง 30 ไมล์ด้วยความเร็วประมาณ 10 Mbps
สิ่งที่ยังเป็นปัญหาอยู่สำหรับบริการ WiMAX มีหลายประการที่ต้องมีการพัฒนาต่อไปจากที่สามารถแก้ปัญหาบางอย่างได้ในระดับ หนึ่งแล้ว เช่น ตัวมาตรฐานเองที่ยังไม่ค่อยนิ่งเท่าใดนัก การพัฒนาอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องของโครงข่าย (ซึ่งรวมถึงตัวเครื่องลูกข่ายด้วย)  การเคลื่อนที่ของลูกข่ายจากสถานีฐานหนึ่งไปยังอีกสถานีฐานหนึ่งโดยไม่มี ปัญหาสายหลุดหรืออาการสัญญาณสะดุด เป็นต้น
จึงเป็นที่เชื่อได้ว่าใน ขณะนี้คงต้องรอให้มาตรฐานเทคโนโลยี WiMAX ผ่านกระบวนการพัฒนาจนถึงขั้นเป็นมาตรฐานที่สมบูรณ์ (mature) แล้ว อาจเป็นไปได้ที่จะมีความพยายามนำเทคโนโลยี 3G และ WiMAX มาผสมผสานกันเป็น 4G หากกลุ่มที่พัฒนา 4G ไม่รีบชิงพัฒนา 4G หนีการรวมตัวกับ WiMAX ไปเสียก่อน



อ้างอิง : http://www.siamget.com/buyerguide/3067

เทคโนโลยี 4G

Long Term Evolution (LTE)
เทคโนโลยีสื่อสารไร้สายความเร็วสูง 4G หรือ เทคโนโลยี Long Term Evolution (LTE) เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่พัฒนาขึ้น เพื่อช่วยลดข้อจำกัดของการรับส่งข้อมูลด้วยเทคโนโลยี GSM/ GPRS/ EDGE ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ให้เพิ่มความสามารถในการรับส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงถึง 100 Mbps และจะช่วยลดความล่าช้าในการรับส่งข้อมูลโดยรวม (Latency) ลงอย่างมาก




การให้บริการ 4G ควบคู่กับ 3G ทั่วโลก
ผู้ให้บริการส่วนใหญ่ จะให้บริการ 4G ควบคู่กับ 3G ทั้งนี้จะให้บริการ 3G ในพื้นที่ส่วนใหญ่(Mass Coverage Area) และให้บริการ 4G ในพื้นที่เฉพาะ(Specific Area) ที่มีความต้องการบรอดแบนด์ไร้สายความเร็วสูง (Broadband Wireless Access, BWA) เช่นแหล่งชุมชนที่มีความหนาแน่นประชากรสูง หรือกลุ่มที่ต้องการใช้งานเฉพาะทาง อาทิ นักวิชาการ นักวิเคราะห์ ตามโรงพยาบาลต่างๆที่ให้บริการ Telemedicine เป็นต้น




เครือข่ายทั่วโลก




อุปกรณ์สื่อสาร





อ้างอิง : http://www.ais.co.th/4g/what-4g.html




4G คืออะไร ?



Alwin Toffler นักอนาคตศาสตร์ที่มีชื่อเสียงกล่าวว่า อนาคตมักจะมาเร็วเสมอการสื่อสารไร้สายก็เป็นตัวอย่างที่เห็นได้อย่างชัดเจน โดยขณะที่ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G กำลังขยายไปทั่วโลก แต่ก็ยังช้ากว่าแผนที่วางไว้ประมาณสองปี และขณะนี้กลุ่มของเทคโนโลยีสื่อสารเคลื่อนที่ใหม่ ที่กำลังถาโถมเข้ามาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คือ 4G 


 
สิ่งที่น่าสนใจที่จะพัฒนาเทคโนโลยี 4G ก็เป็นผลมาจากจุดอ่อนของระบบ 3G นั่นเอง โดยที่ผู้ประกอบการธุรกิจโทรคมนาคมทั่วโลกได้ลงทุนเป็นจำนวนเงินสูงถึงหนึ่งแสนล้านดอลล่าร์ เพื่อซื้อใบอนุญาตใช้สิทธิในการประกอบการโทรคมนาคมเครือข่าย 3G เพียงเพื่อให้ได้เทคโนโลยีที่สามารถสื่อสารแบบมัลติมีเดียแบบเคลื่อนที่ได้ แต่การนำมาใช้จริงกลับกลายเป็นทำได้ยากกว่าที่คาดไว้ และยังมีการลงทุนทางด้านเครือข่ายและการบำรุงรักษาเครือข่ายที่สูง จึงสร้างความไม่มั่นใจให้กับผู้ประกอบกิจการที่กำลังจะพัฒนาระบบจาก 2.5G สู่ 3G

โดยสรุปแล้วแรงจูงใจในการพัฒนาเทคโนโลยี 4G มีดังนี้ คือ 
 ความสามารถในการทำงานของ 3G อาจจะไม่เพียงพอที่จะสนองตอบความต้องการของแอพพลิเคชั่นสูงๆ อย่างเช่น มัลติมีเดีย, วิดีโอแบบภาพเคลื่อนไหวที่เต็มรูปแบบ (Full-motion video) หรือการประชุมทางโทรศัพท์แบบไร้สาย (Wireless teleconferencing) ทำให้เกิดความต้องการเทคโนโลยีเครือข่ายที่จะมาช่วยเพิ่มขีดความสามารถของ 3G โดยจะต้องเป็นเครือข่ายที่มีขนาดใหญ่มากด้วย

-  มาตรฐานที่ซับซ้อนของ 3G ทำให้ยากในการเชื่อมโยงและทำงานร่วมกันระหว่างเครือข่าย แต่เราต้องการใช้งานแบบเคลื่อนที่และพกพาไปได้ทั่วโลก
นักวิจัยต้องการให้รูปแบบการส่งคลื่นทางเทคนิคมีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อ เพิ่มขีดความสามารถในการส่งข้อมูลที่เร็วกว่า 10 Mbps ซึ่งไม่สามารถทำได้ในโครงสร้างของ 3G
ระบบ 4G เป็นระบบเครือข่ายแบบ IP digital packet ทำให้สามารถส่ง Voice และ Data ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยราคาการให้บริการที่ถูกมากและมีรูปแบบที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

การพัฒนาระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุค 4G ได้มีการพัฒนาโดยเน้นเรื่องการรักษาความปลอดภัย โดยการนำไบโอแมทริกซ์มาผสมผสาน ทำให้สามารถซื้อขายกันได้โดยผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือ Mobile Internet และยังสามารถหักบัญชีเงินในธนาคาร เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับสินค้าหรือบริการได้ทันที ระบบไบโอแมทริกซ์ จึงเข้ามามีบทบาทอย่างมากในธุรกิจในอนาคตอันใกล้ ซึ่งจะเห็นอย่างชัดเจนในยุคโทรศัพท์เคลื่อนที่ 4G นั่นคือในธุรกิจ Mobile Commerce นั่นเอง

ซอฟแวร์ที่เกี่ยวกับสื่อมัลติมีเดีย นับเป็นกลุ่มซอฟแวร์ที่จะถูกนำมาใช้ร่วมกับระบบ 4G โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลถูกพัฒนาให้สูงกว่า 100 เมกะบิตต่อวินาที ตัวอย่างเช่น คุณอาจดาวน์โหลดไฟล์วิดีโอมาไว้ในรถยนต์ ก่อนออกเดินทางไกล เพื่อว่าจะได้มีหนังดีๆ รวมทั้งข้อมูลการท่องเที่ยวไว้ดูบ้างในระหว่างเดินทาง นั่นคือธุรกิจ Software house และ ธุรกิจเกี่ยวกับการสร้าง Content ในระดับ SME ที่มีความคิดสร้างสรรค์ ก็จะมีโอกาสในธุรกิจสื่อมัลติมีเดียบนอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่เป็นอย่างมาก

ลองนึกภาพการที่คุณสามารถใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่เพื่อซื้อน้ำอัดลมจากตู้ขายอัตโนมัติ ใช้โทรศัพท์เครื่องเดียวกันสั่งซื้ออัลบั้มเพลงล่าสุดและดาวน์โหลลงเครื่องเล่น MP3 ได้โดยตรง หรือการที่นักท่องเที่ยวสามารถใช้คอมพิวเตอร์พกพาเพื่อหาจองโรงแรมที่ใกล้ที่สุด และราคาเหมาะสมที่สุดขณะที่นั่งรถแท็กซี่


โทรศัพท์เคลื่อนที่ในยุค 4G จะมีความสามารถและสมรรถนะสูงมาก ในระดับที่สามารถชมภาพวิดีโอกันแบบสดๆได้ พร้อมคุณภาพระดับ DVD ตามการเปิดเผยของซัมซุงฯ เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จ ทางซัมซุงฯได้เพิ่มบุคลากรในแผนกอาร์แอนด์ดี ส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบ 4G แล้ว

มีการคาดหวังถึงความสะดวกสบายและประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับเมื่อบริการ M-Commerce บนระบบ 4G จะเป็นที่ยอมรับและแพร่หลาย ทำให้เกิดแนวคิดมากมายในการทำ M-Commerce เข้ามาใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อให้ผู้บริโภคได้รับประโยชน์สูงสุด เช่นแนวคิดเกี่ยวกับการกระจายข้อมูลออกไปในระยะใกล้ โดยมีเป้าหมายคือผู้บริโภคที่อยู่ในบริเวณนั้นๆ ตัวอย่างเช่น เมื่อคุณเดินผ่านร้านขายสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ คุณอาจจะได้รับข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ชิ้นใหม่ๆ ที่มีจำหน่ายในร้าน และคุณก็สามารถที่จะตรวจสอบราคาสินค้า เปรียบเทียบราคากับร้านอื่นๆ เพื่อให้ได้ราคาที่ถูกที่สุด หรือเมื่อคุณนั่งรถไฟฟ้าผ่านสถานที่ท่องเที่ยวโทรศัพท์เคลื่อนที่4G ของคุณก็จะได้รับแผนที่อิเล็กทรอนิกส์ของบริเวณนั้นบนจอของคุณ อีกทั้งข้อความโฆษณาของโรงแรมหรือที่พักที่อยู่ใกล้กับสถานที่ท่องเที่ยวนั้นๆ เป็นต้น

ขณะนี้ประเทศจีน ญี่ปุ่น และเกาหลี จับมือกันแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีหวังสร้างมาตรฐานร่วม 4G แห่งเอเชีย โดยชูคุณสมบัติเด่น รับส่งข้อมูล 100 เมกะบิตต่อวินาที พร้อมเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูง โดยอาศัยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตโปรโตคอล เวอร์ชั่น 6 หรือ ไอพีวี6” (IPv 6) ที่ประเทศญี่ปุ่นเป็นผู้พัฒนาขี้นเป็นรายแรก และมีแผนที่จะผลักดันให้กลายเป็นมาตรฐานระดับโลก

จะเห็นได้ว่าตอนนี้เหล่าผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ และนักพัฒนาเริ่มตื่นตัวกับเทคโนโลยีใหม่กันแล้ว และดูเหมือนการแข่งขันที่เกิดขึ้นจะรุนแรงกว่า 3G มาก จนทำให้การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่ครั้งนี้ อาจจะไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไปอีกแล้ว แต่น่าจะเป็นลักษณะการเคลื่อนไหวแบบก้าวกระโดด จนธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคมอาจปรับตัวไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลง


อ้างอิง : http://www.youngmea.com/page_bx.php?cid=23&cno=468